Go to full page →

การรับประทานอาหารมากเกินไป MHTH 533

หลายคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารชนิด อื่น ๆ ที่ย่อยยาก คิดว่าเพราะเหตุที่เขารับประทานอาหาร อาหารอย่างง่าย ๆ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เขาจึง สามารถจะรับประทานให้มากได้ตามความพอใจ เขาจึงรับ ประทานมาก และบางครั้งมากเกินไปจนกลายเป็นความ ละโมภอาหาร การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผิด อวัยวะเครื่องย่อย อาหารไม่ควรจะทำงานหนักเกินกำลัง เพราะจะทำให้ร่าง กายอ่อนเพลีย และทำให้กระเพาะอาหารพิการได้ MHTH 533.2

ตามประเพณีนิยม เขามักจะจัดวางอาหารบนโต๊ะ โดยนำเข้ามาวางทีละอย่าง ๆ ต่อ ๆ กันไปจนครบชุด เมื่อ ไม่ทราบว่าจะมีอาหารชนิดไหนต่อไป เราอาจจะรับประ- ทานอาหารจนอิ่มซึ่งไม่เหมาะกับเรา เมื่ออาหารชุดสุด ท้ายถูกนำเข้ามาตั้ง เราก็จะรับประทานมากเกินควร เมื่อ ถึงเวลารับประทานอาหารของหวานเราก็อิ่มจนรับประทาน อีกไม่ได้ ถ้าอาหารทั้งหมดที่เราจะรับประทานสำหรับ อาหารมื้อหนึ่ง ๆ ได้ถูกนำมาวางไว้บนโต๊ะพร้อม ๆ กันเมื่อ เราลงมือรับประทานอาหาร เราก็มีโอกาสที่จะเลือกรับ ประทานได้อย่างดีที่สุด MHTH 534.1

บางครั้งเราจะรู้สึกไม่สบายทันที ภายหลังที่ได้รับ ประทานอาหารมากเกินไป ในบางครั้งเราจะไม่รู้สึกเจ็บ ปวด แต่อวัยวะเครื่องย่อยอาหารจะอ่อนกำลัง ทำให้ร่าง กายของเราพลอยอ่อนกำลังไปด้วย MHTH 534.2

อาหารที่เรารับประทานมากเกินไป ทำให้อวัยวะ เครื่องย่อยอาหารต้องทำงานหนัก ทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สบาย การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้ร่าง กายต้องส่งโลหิตไปช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ อวัยวะ เครื่องย่อยอาหารต้องทำงานหนัก และเมื่ออวัยวะเหล่านี้ทำ งานของมันเสร็จแล้ว เราก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย บางคนที่ รับประทานอาหารมากเกินไปอยู่เรื่อย ๆ เรียกความอ่อน เพลียนี้ว่าความหิว แต่สิ่งนี้เกิดจากอวัยวะเครื่องย่อยอาหาร ทำงานหนักเกินไป บางครั้งสมองจะมึนซึม ทำให้เราไม่ อยากทำการงานอะไรเลย MHTH 534.3

การที่เรารู้สึกไม่สบายเช่นนี้ ก็เพราะกระเพาะ อาหารต้องทำงานหนักเกินกำลังทำให้อ่อนเพลียย่อยอาหาร ไม่สะดวก ถ้ากระเพาะอาหารของเรามีปากมันก็คงจะพูดว่า “ขอให้ฉันพักผ่อน” แต่หลายคนคิดว่าเมื่อเรารู้สึกอ่อน เพลียหมายความว่า เราต้องการอาหารมากขึ้น ดังนั้นแทน ที่จะให้กระเพาะอาหารได้หยุดพัก กลับจะทำให้ต้องทำงาน หนักมากขึ้น ผลที่ได้รับก็คือ กระเพาะอาหารต้องเหน็ด เหนื่อยและไม่สามารถจะทำงานได้สะดวก MHTH 535.1