บท 16 - บรรพบุรุษที่เป็นพิลกริม
- อารัมภบท
- บทนำของคณะผู้จัดพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษ
- คำนำของผู้ประพันธ์
- บท 1 - ความพินาศของกรุงเยรูซาเล็ม
- บท 2 - การกดขี่ข่มเหงในศตวรรษต้นๆ
- บท 3 - ยุคมืดทางจิตวิญญาณ
- บท 4 - ชาววอลเดนซิส
- บท 5 - ยอห์น ไวคลิฟ
- บท 6 - ฮัสและเจอโรมี
- บท 7 - ลูเธอร์ตีตัวออกห่างจากโรม
- บท 8 - ลูเธอร์รายงานตัวต่อสภา
- บท 9 - นักปฏิรูปศาสนาชาวสวิส
- บท 10 - ความก้าวหน้าของการปฏิรูปในประเทศเยอรมนี
- บท 11 - การประท้วงของเจ้าครองแคว้นต่างๆ
- บท 12 - การปฏิรูปศาสนาในประเทศฝรั่งเศส
- บท 13 - ประเทศเนเธอร์แลนด์และแถบสแกนดิเนเวีย
- บท 14 - นักปฏิรูปศาสนาชาวอังกฤษรุ่นหลัง
- บท 15 - พระคัมภีร์กับการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส
- บท 16 - บรรพบุรุษที่เป็นพิลกริม
- บท 17 - ผู้ประกาศข่าวของรุ่งอรุณ
- บท 18 -นักปฏิรูปชาวอเมริกันท่านหนึ่ง
- บท 19 - ความสว่างส่องเข้าไปในที่มืด
- บท 20 - การตื่นตัวครั้งยิ่งใหญ่ฝ่ายศาสนา
- บท 21 - คำเตือนที่ถูกปฏิเสธ
- บท 22 - เหตุการณ์เกิดขึ้นตามคำพยากรณ์
- บท 23 - สถานนมัสการคืออะไร
- บท 24 - อภิสุทธิสถาน
- บท 25 - พระบัญญัติของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้
- บท 26 - ภารกิจหนึ่งของการปฏิรูป
- บท 27 - การฟื้นฟูยุคใหม่
- บท 28 - เผชิญหน้ากับหนังสือบันทึกแห่งชีวิต
- บท 29 - จุดเริ่มต้นของความชั่ว
- บท 30 - มนุษย์และซาตานเป็นศัตรูกัน
- บท 31 - สื่อวิญญาณชั่ว
- บท 32 - กับดักของซาตาน
- บท 33 - การหลอกลวงยิ่งใหญ่ครั้งแรก
- บท 34 - คนตายติดต่อกับเราได้หรือ
- บท 35 - เสรีภาพของจิตสำนึกถูกคุกคาม
- บท 36 - การขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้น
- บท 37 - พระคัมภีร์เป็นโล่ป้องกัน
- บท 38 - คำเตือนสุดท้าย
- บท 39 - เวลาแห่งความทุกข์ยาก
- บท 40 - ประชากรของพระเจ้าได้รับการช่วยกู้
- บท 41 - โลกร้างอ้างว้าง
- บท 42 - ความขัดแย้งสิ้นสุดแล้ว
Search Results
- Results
- Related
- Featured
- Weighted Relevancy
- Content Sequence
- Relevancy
- Earliest First
- Latest First
- Exact Match First, Root Words Second
- Exact word match
- Root word match
- EGW Collections
- All collections
- Lifetime Works (1845-1917)
- Compilations (1918-present)
- Adventist Pioneer Library
- My Bible
- Dictionary
- Reference
- Short
- Long
- Paragraph
No results.
EGW Extras
Directory
บท 16 - บรรพบุรุษที่เป็นพิลกริม
แม้ว่านักปฏิรูปศาสนาชาวอังกฤษทิ้งคำสอนของลัทธิโรมันไปแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังคงเก็บรักษารูปแบบพิธีต่างๆ ของเธอเอาไว้มากมาย ด้วยเหตุนี้ แม้พวกเขาปฏิเสธสิทธิอำนาจและหลักความเชื่อทางศาสนาของโรมไปแล้ว พวกเขาก็ยังรับประเพณีและพิธีกรรมของโรมจำนวนไม่น้อยเข้ามารวมไว้ในการนมัสการของคริสตจักรแห่งอังกฤษด้วย พวกเขาอ้างว่าการกระทำเช่นนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องของจิตสำนึก แม้จะเป็นเรื่องที่พระคัมภีร์ไม่ได้บัญชาให้ถือปฏิบัติและเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น แต่ก็ไม่ได้ห้ามไว้ และไม่ใช่เป็นเรื่องชั่วร้ายในตัวเอง การถือปฏิบัติมีแนวโน้มที่จะเชื่อมช่องว่างที่แยกระหว่างคริสตจักรที่ปฏิรูปแล้วกับโรมให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น และพวกเขาถูกโน้มน้าวให้ส่งเสริมผู้นิยมลัทธิโรมันให้มารับความเชื่อของชาวโปรเตสแตนต์ {GC 289.1}GCth17 251.1
สำหรับพวกอนุรักษ์นิยมและพวกประนีประนอมแล้ว ดูเหมือนเหตุผลตามที่อ้างเหล่านี้พอจะรับได้ แต่สำหรับอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ ความจริงแล้ว ประเพณีเหล่านี้มี “แนวโน้มเชื่อมช่องว่างระหว่างโรมกับการปฏิรูปศาสนา” Martyn เล่มที่ 5 หน้า 22 กลับเป็นเหตุผลอันหนักแน่นในมุมมองของพวกเขาว่าไม่ควรรักษารูปแบบพิธีเหล่านี้ไว้ พวกเขามองว่าประเพณีเหล่านี้เป็นเครื่องหมายประดับความเป็นทาสที่พวกเขาได้รับการช่วยกู้ออกมาแล้วและไม่ปรารถนาที่จะกลับไปอีก พวกเขาให้เหตุผลว่าพระวจนะของพระเจ้าทรงจัดวางกฎระเบียบไว้ให้แล้วเพื่อดูแลการนมัสการของพระองค์และมนุษย์ไม่มีเสรีภาพที่จะเพิ่มเติมหรือตัดทิ้งไป ในช่วงเริ่มแรกสุดของการละทิ้งศาสนา คริสตจักรพยายามเสริมอำนาจของพระเจ้าให้แก่ตนเอง โรมเริ่มบังคับให้ทำสิ่งที่พระเจ้าไม่ได้ทรงห้ามไว้ และสุดท้ายลงเอยด้วยการสั่งห้ามทำสิ่งที่พระเจ้าบัญชาไว้อย่างชัดเจน {GC 289.2}GCth17 251.2
คนมากมายมีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะกลับไปหาความบริสุทธิ์และความเรียบง่ายที่เป็นคุณลักษณะของคริสตจักรยุคเริ่มต้น พวกเขาถือว่าประเพณีมากมายที่คริสตจักรอังกฤษสถาปนาไว้นั้นเป็นอนุสรณ์ของการกราบไหว้รูปเคารพ และด้วยจิตสำนึกแล้วพวกเขาเข้าร่วมนมัสการในพิธีเหล่านี้ไม่ได้ แต่คริสตจักรที่มีอำนาจฝ่ายพลเรือนสนับสนุนไม่อนุญาตให้มีการไม่เห็นด้วยกับกฎระเบียบของเธอ กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องเข้าร่วมพิธีของเธอ และสั่งห้ามการประชุมนมัสการทางศาสนาที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยกำหนดโทษให้ติดคุก เนรเทศและถึงแก่ความตายหากฝ่าฝืน {GC 290.1}GCth17 252.1
เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่สิบเจ็ด กษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษองค์ใหม่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงเปิดเผยถึงพระประสงค์ของพระองค์ที่จะบังคับพวกพิวริตัน [Puritans โปรเตสแตนต์นิกายหนึ่งที่เคร่งครัดหลักศีลธรรมจรรยาของศาสนา] ให้ยอม “ปฏิบัติตามหรือ…..ขับคนพวกนี้ออกไปจากแผ่นดินหรือกระทำความรุนแรงที่ร้ายกว่านั้น” George Bancroft, History of the United States of America ตอนที่ 1 บทที่ 12 ย่อหน้าที่ 6 คนเหล่านี้ถูกตามล่า ถูกกดขี่ข่มเหงและถูกกักขังในคุก พวกเขามองไม่เห็นอนาคตที่จะมีวันเวลาที่ดีกว่านี้ คนจำนวนมากยอมจำนนต่อการตัดสินใจรับใช้พระเจ้าตามที่จิตสำนึกบงการแล้ว เห็นว่า “ประเทศอังกฤษมาถึงจุดสิ้นสุดของการเป็นสถานที่น่าอยู่ตลอดไป” J. G. Palfrey, History of New England บทที่ 3 ย่อหน้าที่ 43 ในที่สุดมีบางคนมุ่งหน้าหาที่ลี้ภัยในประเทศฮอลันดา พวกเขาพบกับความยากลำบาก การสูญเสียและการติดคุก เป้าหมายของพวกเขาถูกขัดขวาง ถูกหักหลังไปอยู่ในมือของศัตรู แต่ด้วยความอดทนอย่างพากเพียร ในที่สุดพวกเขาก็ได้ชัยชนะและลี้ภัยบนชายฝั่งที่เป็นมิตรของสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ {GC 290.2}GCth17 252.2
ในการหนีภัยนั้น พวกเขาทิ้งบ้าน ทรัพย์สมบัติและวิถีการทำมาหาเลี้ยงชีพ พวกเขากลายเป็นคนแปลกหน้าในดินแดนใหม่ อยู่ท่ามกลางคนที่มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พวกเขาถูกบังคับให้รับอาชีพแปลกใหม่และไม่เคยทำมาก่อนเพื่อเลี้ยงชีพ คนวัยกลางคนที่เคยพรวนแต่ดินบัดนี้ต้องเรียนรู้อาชีพทางเครื่องกล แต่พวกเขาก็ยอมรับกับสถานการณ์ด้วยความยินดีและไม่ยอมเสียเวลากับการอยู่เฉยหรือการโอดครวญ ถึงแม้บ่อยครั้งความยากจนจะรุมเร้าเข้ามา แต่พวกเขาขอบคุณพระเจ้าที่ยังประทานพระพรมาให้และพบความสุขที่ฝังอยู่กับความสัมพันธ์ทางฝ่ายจิตวิญญาณที่ยังไม่ถูกละเมิด “พวกเขารู้ตัวว่าตนเป็นผู้เดินทางแสวงบุญและไม่สนใจมองสิ่งเหล่านั้นมากนัก แต่เชิดสายตาไปยังสวรรค์ซึ่งเป็นเมืองอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเขาและทำให้วิญญาณจิตของพวกเขาสงบลง” Bancroft ตอนที่ 1 บทที่ 12 ย่อหน้าที่ 15 {GC 290.3}GCth17 252.3
ขณะอยู่ในสภาพของคนลี้ภัยและยากลำบาก ความรักและความเชื่อของพวกเขาแข็งแกร่ง พวกเขาวางใจในพระสัญญาของพระเจ้าและพระองค์ไม่ทรงทำให้พวกเขาผิดหวังในช่วงเวลาของความขัดสน ทูตสวรรค์ของพระองค์อยู่เคียงข้างพวกเขาเพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนพวกเขา และเมื่อดูเหมือนว่าพระหัตถ์ของพระเจ้าทรงชี้ให้พวกเขาข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังแผ่นดินที่พวกเขาจะจัดตั้งเป็นประเทศและทิ้งไว้เป็นมรดกเสรีภาพทางศาสนาอันล้ำค่าให้แก่ลูกหลานรุ่นต่อๆ มา พวกเขามุ่งหน้าต่อไปตามที่พระเจ้าทรงนำโดยไม่ยอมถอย {GC 291.1}GCth17 253.1
พระเจ้าทรงอนุญาตให้การทดลองเกิดขึ้นกับประชากรของพระองค์เพื่อเตรียมพวกเขาให้บรรลุผลตามพระประสงค์อันล้ำค่าที่ทรงจัดเตรียมไว้ให้พวกเขา คริสตจักรตกต่ำลงเพื่อจะถูกยกชูให้สูงขึ้น พระเจ้าทรงกำลังจะสำแดงฤทธานุภาพของพระองค์เพื่อพวกเขาเพื่อประทานอีกหลักฐานหนึ่งให้ชาวโลกเห็นว่าพระองค์จะไม่ทอดทิ้งผู้ที่วางใจในพระองค์ พระองค์ทรงเข้าควบคุมสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเอาความโกรธแค้นของซาตานและอุบายของคนชั่วมาเสริมพระสิริของพระองค์และนำประชากรของพระองค์ไปยังที่มั่นคงปลอดภัย การกดขี่ข่มเหงและการเนรเทศกำลังเปิดทางไปสู่เสรีภาพ {GC 291.2}GCth17 253.2
เมื่อถูกกดดันในตอนต้นให้แยกตัวออกจากคริสตจักรอังกฤษ พวกพิวริตันร่วมปฏิญาณอย่างเคร่งขรึมในฐานะประชากรเสรีของพระเจ้าที่จะ “ดำเนินร่วมกันในเส้นทางทั้งหมดของพระองค์ที่ทรงสำแดงแก่พวกเขา” J. Brown, The Pilgrim Fathers หน้า 74 นี่เป็นวิญญาณอันแท้จริงของการปฏิรูป เป็นหลักการสำคัญของความเชื่อโปรเตสแตนต์ ด้วยจุดมุ่งหมายนี้ พวกพิลกริม [Pilgrim กลุ่มผู้เดินทางไกลเพื่อไปตั้งถิ่นฐานใหม่] เดินทางออกจากประเทศฮอลันดาไปหาบ้านที่อยู่ในโลกใหม่ ยอห์น โรบินสัน [John Robinson] ศาสนาจารย์ของพวกเขา ภายใต้การทรงนำของพระเจ้า ถูกยับยั้งห้ามเดินทางไปกับพวกเขา คำปราศรัยอำลาของเขาที่ให้กับพวกผู้อพยพมีใจความว่า {GC 291.3}GCth17 253.3
“พี่น้องทั้งหลาย บัดนี้พวกเรากำลังจะจากกัน และพระเจ้าทรงทราบดีว่าข้าพเจ้าจะยังมีชีวิตอยู่ที่จะเห็นใบหน้าของท่านอีกหรือไม่ แต่ไม่ว่าพระเจ้าจะทรงจัดวางไว้ให้หรือไม่ ข้าพเจ้าขอกำชับท่านต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้าเหล่าทูตสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ว่า ตามข้าพเจ้ามาอย่าให้ห่างออกไปจากที่ข้าพเจ้าติดตามพระคริสต์ หากพระเจ้าทรงใช้วิธีอื่นใดสำแดงคำสอนอันใดแก่ท่าน ขอให้ท่านพร้อมรับไว้เหมือนที่ท่านรับความจริงในงานรับใช้ของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้ามั่นใจอย่างยิ่งว่าพระเจ้าทรงมีสัจธรรมและมีความกระจ่างอีกมากมายที่จะเปิดเผยจากพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์” Martyn เล่มที่. 5 หน้าที่ 70 {GC 291.4} GCth17 253.4
“ในส่วนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่อาจคร่ำครวญได้อย่างเต็มที่ถึงสภาพของคริสตจักรต่างๆ ที่ปฏิรูปแล้ว ซึ่งมาถึงจุดหนึ่งของศาสนาและ ณ บัดนี้ไม่อาจไปไกลกว่าผู้ก่อตั้งการปฏิรูปของพวกเขา ชาวลูเธอร์เรนจะก้าวไปไกลเกินกว่าที่ลูเธอร์มองเห็นไม่ได้……..และทุกท่านก็มองเห็นแล้วว่า ชาวคาลวินนิยมเองก็ยึดติดกับสิ่งที่ผู้ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าท่านนี้ทิ้งไว้ ผู้ซึ่งยังมองไม่เห็นสิ่งทั้งปวง นี่เป็นความทุกข์ยากที่จะต้องร้องไห้เศร้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่าพวกเขาเป็นความกระจ่างที่ลุกไหม้และส่องสว่างเจิดจ้าในยุคของพวกเขา แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้สองทะลุผ่านคำสอนทั้งหมดของพระเจ้า แต่หากพวกเขายังมีชีวิตอยู่ในเวลานี้ พวกเขาก็จะเต็มใจรับความกระจ่างเพิ่มเติมเช่นที่พวกเขาได้รับไว้ตั้งแต่แรก” D. Neal, History of the Puritans เล่มที่ 1 หน้าที่ 269 {GC 292.1}GCth17 254.1
“ขอให้ท่านจดจำพันธสัญญาของคริสตจักรของท่าน ที่ท่านตกลงจะเดินในมรรคาทั้งหมดของพระเจ้าที่ได้ทรงเปิดเผยไว้หรือที่จะทรงเปิดเผยให้แก่ท่าน จงจดจำพระสัญญาและคำปฏิญาณที่ทำกับพระเจ้าและที่ทำต่อกันเพื่อจะรับความกระจ่างและสัจธรรมอื่นใดที่จะสำแดงแก่ท่านจากพระคำที่บันทึกไว้ของพระองค์ แต่ว่า ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่าน ให้เอาใจใส่กับสิ่งที่ท่านจะรับไว้เป็นสัจธรรมและจงเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักกับความกระจ่างของพระคัมภีร์ข้ออื่นๆ ก่อนที่ท่านจะรับ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่โลกของคริสเตียนผู้ซึ่งเพิ่งจะก้าวออกมาจากความมืดหนาทึบของการต่อต้านคริสเตียนเมื่อไม่นานมานี้ จะรอบรู้ความกระจ่างอย่างสมบูรณ์ได้ในทันที” Martyn เล่มที่ 5 หน้าที่ 70, 71 {GC 292.2}GCth17 254.2
ความปรารถนาที่จะมีเสรีภาพของจิตสำนึกได้ดลบันดาลใจพิลกริมทั้งหลายให้กล้าหาญฝ่าอันตรายของการเดินทางแสนไกลข้ามทะเลเพื่อไปทนความทุกข์ยากลำบากและภัยอันตรายของถิ่นทุรกันดาร และด้วยพระพรของพระเจ้าไปวางฐานรากของประเทศอันยิ่งใหญ่บนชายฝั่งของทวีปอเมริกา ถึงแม้พิลกริม เหล่านี้จะสัตย์ซื่อและยำเกรงพระเจ้าก็ตามที พวกเขาก็ยังไม่เข้าใจหลักการยิ่งใหญ่ของเสรีภาพทางศาสนา อิสรภาพที่พวกเขาต้องเสียสละอย่างใหญ่หลวงเพื่อหามาให้แก่ตนเองนั้น พวกเขายังไม่พร้อมที่จะแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น “มีน้อยคนนัก แม้แต่ในพวกนักคิดและนักสอนศีลธรรมชั้นนำของศตวรรษที่สิบเจ็ดที่จะมีแนวคิดอันยุติธรรมของหลักการยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นผลของการเติบโตของพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่ยอมรับพระเจ้าให้ทรงเป็นพระผู้พิพากษาแต่เพียงผู้เดียว” Ibid. เล่มที่ 5 หน้าที่ 297 หลักคำสอนที่บอกว่าพระเจ้าทรงมอบหมายสิทธิอำนาจให้คริสตจักรที่จะควบคุมจิตสำนึกและมีอำนาจตีความรวมถึงลงโทษพวกนอกศาสนานั้น เป็นข้อผิดพลาดที่ฝังรากลึกของระบอบเปปาซี ในขณะที่นักปฏิรูปศาสนาไม่ยอมรับหลักคำสอนของโรม แต่พวกเขาก็ไม่ได้หลุดพ้นจากวิญญาณของการไม่ยอมผ่อนปรนของโรมอย่างสิ้นเชิงเสียทีเดียว ความมืดอันหนาทึบที่หลักคำสอนและพิธีกรรมของระบอบเปปาซีได้ครอบงำโลกคริสเตียนทั้งหมดผ่านทางการปกครองนานหลายชั่วอายุคนนั้นยังไม่เหือดหายไปเสียเลยทีเดียว อาจารย์ชั้นนำคนหนึ่งในอาณานิคมของอ่าวแมสซาชูเซตส์กล่าวว่า “การผ่อนปรนในเรื่องศาสนาเป็นเหตุทำให้โลกต่อต้านคริสเตียน และคริสตจักรไม่เคยได้รับบาดเจ็บจากการลงโทษคนนอกศาสนา” Ibid. เล่มที่ 5 หน้าที่ 335 ชาวอาณานิคมทั้งหลายจัดวางกฎระเบียบว่า มีเฉพาะสมาชิกคริสตจักรเท่านั้นที่จะออกเสียงในรัฐบาลพลเรือนได้ คริสตจักรรัฐแบบหนึ่งได้ถูกก่อตั้งขึ้นซึ่งกำหนดให้ทุกคนต้องบริจาคเพื่อสนับสนุนคณะสงฆ์ และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองได้รับอำนาจที่จะกำจัดคนนอกศาสนาได้ ด้วยเหตุนี้ อำนาจฝ่ายฆราวาสจึงตกไปอยู่ในมือของคริสตจักร หลังจากนั้นไม่นาน มาตรการเหล่านี้ก็นำไปสู่ผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือการกดขี่ข่มเหงนั่นเอง{GC 292.3}GCth17 254.3
สิบเอ็ดปีหลังจากอาณานิคมแรกได้ก่อตั้งขึ้น โรเจอร์ วิลเลียมส์ [Roger Williams] เดินทางมายังโลกใหม่ เช่นเดียวกับพิลกริมรุ่นแรก เขามาเพื่อใช้สิทธิเสรีภาพทางศาสนาอย่างเต็มที่ แต่ที่ไม่เหมือนคนอื่นก็คือเขาเห็นในสิ่งที่น้อยคนในสมัยของเขาจะมองเห็น เขาเห็นว่าเสรีภาพนี้เป็นสิทธิอันชอบของทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมีความเชื่อในศาสนาใด เขาเป็นคนแสวงหาสัจธรรมที่เอาจริงเอาจัง เขาเห็นด้วยกับโรบินสันที่กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่ความกระจ่างทั้งปวงจากพระวจนะของพระเจ้าได้ถูกรับเอาไว้ทั้งหมด วิลเลียมส์ “เป็นคนแรกในโลกคริสเตียนยุคใหม่ที่ก่อตั้งรัฐบาลพลเรือนบนหลักการของเสรีภาพของจิตสำนึก ความเสมอภาคในด้านความคิดเห็นทางกฎหมาย” Bancroft ตอนที่ 1 บทที่ 15 ย่อหน้าที่ 16 เขาประกาศว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองที่ต้องควบคุมการก่ออาชญากรรมแต่ไม่ใช่ไปควบคุมจิตสำนึก เขาพูดว่า “สาธารณชนหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ตัดสินเรื่องติดค้างกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ แต่เมื่อพวกเขาพยายามกำหนดหน้าที่ของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้าแล้ว พวกเขาก็ดูเหมือนจะอยู่ผิดที่และความปลอดภัยก็ไม่อาจจะมีได้ เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจ เขาก็อาจจะตราบัญญัติความเห็นหรือความเชื่อแบบหนึ่งในวันนี้และอีกแบบในวันรุ่งขึ้น เหมือนที่เคยทำมาแล้วในประเทศอังกฤษโดยพระมหากษัตริย์และพระราชินีหลายๆ พระองค์และโดยพระสันตะปาปาหลายองค์และคณะที่ปรึกษาหลายคณะของคริสตจักรโรมัน จนความเชื่อกลายเป็นความวุ่นวายกองพะเนิน” Martyn เล่มที่ 5 หน้าที่ 340 {GC 293.1}GCth17 255.1
การเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ในคริสตจักรที่ก่อตั้งขึ้นทาแล้วอย่างเป็นทางการแล้วนั้นเป็นเรื่องที่ต้องถือปฉิบัติโดยมีโทษทัณฑ์ของการปรับหรือจำคุก “วิลเลียมส์ตำหนิกฎหมายฉบับนี้ การบังคับให้เข้าร่วมคริสตจักรท้องถิ่นเป็นบทบัญญัติที่เลวที่สุดในประมวลกฎหมายของประเทศอังกฤษ การบังคับมนุษย์ให้เข้าร่วมพิธีกับผู้มีความเชื่อแตกต่างกันนั้นเขาถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิตามธรรมชาติของพวกเขาอย่างโจ่งแจ้ง การลากคนไม่ฝักใฝ่ศาสนาและไม่เต็มใจเข้าร่วมให้ไปนมัสการพร้อมกับผู้อื่นนั้นดูคล้ายกับต้องการให้เขาเป็นคนหน้าซื่อใจคด…… ‘ไม่ควรมีผู้ใดถูกบังคับให้เข้าร่วมนมัสการ’ ผู้ต่อต้านที่ตะลึงกับคำพูดของเขาอุทานขึ้นมาว่า ‘อะไรกันนะ คนทำงานจะรับค่าจ้างสมกับงานที่ทำหรือไม่’ เขาตอบว่า ‘สมแน่นอน สมกับค่าจ้างที่ได้จากคนจ้างเขา’” Bancroft ตอนที่ 1 บทที่ 15 ย่อหน้าที่ 2 {GC 294.1}GCth17 255.2
คนเคารพและรักโรเจอร์ วิลเลียมส์ในฐานะผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์ เขาเป็นคนมีความสามารถที่หายาก มีความซื่อตรงไม่เอนเอียงและมีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามความแน่วแน่ที่ไม่เห็นด้วยกับการมอบสิทธิอำนาจแก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองให้อยู่เหนือคริสตจักรและการเรียกร้องเสรีภาพทางศาสนาของเขา ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจ พวกเขาเน้นว่าการนำหลักคำสอนใหม่มาใช้จะเป็นการไป “ลบล้างพื้นฐานการปกครองของรัฐและของประเทศ” Ibid. ตอนที่ 1 บทที่ 15 ย่อหน้าที่ 10 เขาถูกตัดสินเนรเทศออกจากอาณานิคมและในที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม เขาถูกบังคับให้หนีท่ามกลางความหนาวและพายุหิมะของฤดูหนาวเข้าไปในป่าทึบ {GC 294.2}GCth17 255.3
เขากล่าวว่า “เป็นเวลาสิบสี่สัปดาห์ ข้าพเจ้าถูกโหมกระหน่ำอย่างสาหัส ไม่รู้ว่าอาหารหรือที่นอนมีความหมายเช่นใด” แต่ “นกกาในป่ากันดารเลี้ยงข้าพเจ้า” และบ่อยครั้งโพรงต้นไม้เป็นที่พักหลบภัยให้เขา Martyn เล่มที่ 5 หน้าที่ 349, 350 ด้วยสภาพเช่นนี้เขาฝ่าพายุหนีต่อไปอย่างทรมานแสนสาหัสจนพบที่ลี้ภัยในเผ่าอินเดียแดง ซึ่งเขาเอาชนะความไว้วางใจเละความรักของพวกเขาเมื่อเขาสอนสัจธรรมของข่าวประเสริฐให้แก่พวกเขา {GC 294.3}GCth17 255.4
หลังจากเวลาหลายเดือนของการเปลี่ยนแปลงและการพเนจร ในที่สุดเขาเดินทางมุ่งไปถึงชายฝั่งของอ่าวแนร์ราแกนเซตต์ ณ ที่นั่นเขาวางรากฐานรัฐแรกของยุคใหม่ซึ่งยอมรับสิทธิของเสรีภาพทางศาสนาตามความหมายอย่างครบถ้วนที่สุด หลักการพื้นฐานอาณานิคมของโรเจอร์ วิลเลียมส์คือ “มนุษย์ทุกคนต้องมีเสรีภาพที่จะนมัสการพระเจ้าตามความกระจ่างของจิตสำนึกของตนเอง” Ibid. เล่มที่ 5 หน้าที่ 354 โรดไอแลนด์ รัฐเล็กๆ ของเขาเป็นที่ลี้ภัยของผู้ถูกกดขี่ข่มเหงและขยายและเจริญขึ้นจนหลักการพื้นฐานคือ เสรีภาพฝ่ายพลเรือนและฝ่ายศาสนากลายมาเป็นศิลามุมเอกของสาธารณรัฐอเมริกา {GC 295.1}GCth17 256.1
ในเอกสารเก่าแก่อันยิ่งใหญ่ซึ่งบรรพบุรุษของเราสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายแห่งสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ที่เรียกว่าคำประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น พวกเขาประกาศว่า “เรายึดถือความจริงเหล่านี้เป็นหลักฐานในตัวเองว่ามนุษย์ทั้งปวงถูกสร้างมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างประทานสิทธิ์บางประการที่โอนกันไม่ได้ให้แก่เขาทั้งหลายซึ่งประกอบด้วยชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาความสุข” และรัฐธรรมนูญใช้ถ้อยคำชัดเจนที่สุดในการรับรองการไม่ล่วงละเมิดจิตสำนึก “จะไม่มีการกำหนดบททดสอบทางศาสนาเพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการรับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการใดๆ ภายใต้รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา” “รัฐสภาจะไม่บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศาสนาใดๆ หรือห้ามการทำเช่นนั้นอย่างเสรี” {GC 295.2}GCth17 256.2
“ผู้ร่างรัฐธรรมนูญตระหนักถึงหลักการอันยั่งยืนที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้าของเขาอยู่เหนือกฎหมายของมนุษย์ และสิทธิของจิตสำนึกของเขานั้นย้ายโอนกันไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เหตุผลในการสนับสนุนสัจธรรมนี้ เราสำนึกอยู่อย่างเต็มอก ความสำนึกในเรื่องนี้ที่ท้าทายกฎหมายมนุษย์เป็นพลังที่อยู่คู่กับผู้พลีชีพในการถูกทรมานและในเปลวไฟจำนวนมากมายมาแล้ว พวกเขาสัมผัสได้ว่าหน้าที่ของพวกเขาที่มีต่อพระเจ้านั้นอยู่เหนือกฎหมายของมนุษย์และมนุษย์ไม่อาจมีอำนาจเหนือจิตสำนึกของพวกเขาได้ สิ่งนี้เป็นหลักการที่เกิดมาพร้อมกับชีวิตซึ่งไม่มีสิ่งใดจะกำจัดไปได้” Congressional documents (U.S.A.), serial No. 200, document No. 271 {GC 295.3}GCth17 256.3
เมื่อข่าวเรื่องแผ่นดินที่มนุษย์ทุกคนสามารถอยู่อย่างมีความสุขกับผลจากแรงงานของตนเองและมีเสรีภาพที่จะปฏิบัติตามจิตสำนึกของตนเองแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วทวีปยุโรป คนนับหมื่นก็พากันแห่ไปยังชายฝั่งของโลกใหม่ อาณานิคมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว “โดยกฎหมายพิเศษ รัฐแมสซาชูเซตสืเสนอให้การต้อนรับและการช่วยเหลือที่ให้เปล่าโดยทุนของรัฐแก่คริสเตียนทุกชนชั้นที่ต้องการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ‘เพื่อหนีภัยสงครามหรือความอดอยากหรือการกดดันจากผู้กดขี่ข่มเหงพวกเขา’ ด้วยเหตุนี้ โดยกฎหมายแล้วผู้ที่หนีภัยและผู้ที่ถูกเหยียบย่ำจึงได้มาในฐานะแขกของอาณานิคม” Martyn เล่มที่ 5 หน้าที่ 417 ในเวลายี่สิบปีนับตั้งแต่การขึ้นบกเป็นครั้งแรกที่พลิมัท มีพิลกริมมาตั้งรกรากที่อาณานิคมนิวอิงแลนด์เป็นจำนวนหลายพันคน {GC 296.1}GCth17 257.1
เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมายที่แสวงหา “พวกเขาพึงพอใจกับรายได้น้อยนิดเพียงเพื่อให้อยู่รอดด้วยการมีชีวิตอยู่อย่างสมถะ และทำงานอย่างตรากตรำ พวกเขาไม่ขอสิ่งใดจากพื้นดิน นอกจากผลตอบแทนที่เหมาะสมจากการตรากตรำของพวกเขาเอง ไม่มีนิมิตทองคำอันมีค่าส่องรัศมีหลอกลวงอยู่รอบเส้นทางเดินของพวกเขา……..พวกเขาพึงพอใจกับการพัฒนาที่ช้าแต่มั่นคงของสังคมการปกครองของพวกเขา พวกเขาทนอยู่อย่างขาดแคลนในป่าทึบด้วยความอดทน รดน้ำต้นเสรีภาพด้วยน้ำตาของพวกเขาและหยาดเหงื่อจากหน้าผากจนมันหยั่งรากลึกลงในแผ่นดิน” {GC 296.2}GCth17 257.2
เขาทั้งหลายยึดพระคัมภีร์เป็นรากฐานของความเชื่อและที่มาของปัญญาและธรรมนูญของเสรีภาพ พวกเขาพากเพียรสอนหลักการเหล่านี้ในบ้าน ในโรงเรียนและในโบสถ์และผลที่ปรากฏคือความมัธยัสถ์ ความฉลาด ความบริสุทธิ์และการประมาณตน ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาณานิคมของพวกพิวริตันมาหลายปี “อาจไม่เคยเห็นคนเมาสักคนหรือได้ยินคำสบถสาบานหรือพบคนขอทาน” Bancroft ตอนที่ 1 บทที่19 ย่อหน้าที่ 25 จนทำให้เห็นว่าหลักการของพระคัมภีร์เป็นเครื่องปกป้องความยิ่งใหญ่ของประเทศ อาณานิคมที่อ่อนแอและอยู่อย่างห่างไกลเติบโตรวมกันเป็นสมาพันธ์รัฐที่ยิ่งใหญ่และโลกเฝ้ามองด้วยความประหลาดใจถึงสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองของ “คริสตจักรที่ไม่มีพระสันตะปาปาและรัฐที่ไม่มีพระราชา” {GC 296.3}GCth17 257.3
แต่จำนวนคนที่ใฝ่ฝันต้องการอพยพมายังชายฝั่งอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พวกเขาถูกกระตุ้นด้วยแรงดลใจที่แตกต่างอย่างมากจากของพิลกริมรุ่นแรก แม้ว่าความเชื่อและความบริสุทธิ์ของชนรุ่นแรกจะมีพลังครอบคลุมและหล่อหลอมจิตใจอย่างกว้างขวาง แต่กระนั้นอิทธิพลของมันก็ลดน้อยลงเป็นลำดับเมื่อผู้อพยพมาใหม่ที่ไขว่คว้าสมบัติทางโลกมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น {GC 296.4}GCth17 257.4
กฎระเบียบของชาวอาณานิคมรุ่นแรกที่อนุญาตให้เฉพาะสมาชิกของคริสตจักรมีสิทธิออกเสียงหรือรับตำแหน่งพนักงานปกครองฝ่ายพลเรือนนำไปสู่ผลเสียหายมากที่สุด มาตรการนี้นำมาใช้เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของรัฐแต่กลับไปสร้างความเสื่อมศีลธรรมในคริสตจักร การถือศาสนาแต่เปลือกนอกเพื่อเป็นเงื่อนไขของสิทธิออกเสียงและการรับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งถูกกระตุ้นจากนโยบายทางโลกเพียงอย่างเดียวทำให้มีคนมากมายเข้าร่วมคริสตจักรโดยไม่กลับใจ ด้วยเหตุนี้คริสตจักรจึงประกอบด้วยคนจำนวนมากมายที่ไม่กลับใจ และแม้แต่ในงานรับใช้ก็ยังมีผู้ที่ถือหลักคำสอนที่ผิดและไม่มีความรู้เรื่องฤทธานุภาพการฟื้นฟูใหม่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลของความชั่วซึ่งพบได้บ่อยในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรนับตั้งแต่สมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินจนถึงปัจจุบัน ที่พยายามสร้างคริสตจักรด้วยการช่วยเหลือของรัฐ และที่แสวงหาอำนาจฝ่ายโลกเพื่อสนับสนุนข่าวประเสริฐของพระองค์ผู้ทรงประกาศว่า “ราชอำนาจของเราไม่ได้เป็นของโลกนี้” ยอห์น 18:36 การนำคริสตจักรมารวมกับรัฐไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไรก็ตามซึ่งดูประหนึ่งว่าสามารถนำโลกให้เข้ามาใกล้ชิดกับคริสตจักรได้มากขึ้นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนำคริสตจักรไปใกล้ชิดกับโลกมากขึ้น {GC 297.1}GCth17 258.1
หลักการยิ่งใหญ่ที่โรบินสันและโรเจอร์ วิลเลียมส์ สนับสนุนอย่างสง่างาม ซึ่งกล่าวว่าสัจธรรมจะต้องพัฒนาต่อไป และคริสเตียนควรพร้อมรับความกระจ่างที่อาจส่องมาจากพระวจนะอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านั้น หลักการนี้ได้สูญหายไปแล้วจากสายตาของชนรุ่นต่อมาของพวกเขา คริสตจักรต่างๆ ของโปรเตสแตนต์ในประเทศอเมริการวมทั้งในทวีปยุโรปที่นิยมชมชอบอย่างมากในการต้อนรับพระพรของการปฏิรูปศาสนาได้ล้มเหลวที่จะรุกคืบหน้าต่อไปบนวิถีของการปฏิรูป แม้จะมีคนซื่อสัตย์ไม่กี่คนลุกขึ้นมาในบางครั้งบางคราวเพื่อประกาศสัจธรรมใหม่ๆ และเปิดโปงความผิดที่ยึดถือมานานก็ตาม คนส่วนใหญ่ก็ยังมีลักษณะคล้ายชาวยิวในสมัยของพระคริสต์หรือผู้นิยมระบอบเปปาซีในสมัยของลูเธอร์ที่พอใจจะเชื่อตามที่บรรพบุรุษเชื่อและดำเนินชีวิตตามแบบฉบับที่พวกเขาดำเนิน ด้วยเหตุนี้ศาสนาจึงถดถอยอีกครั้งหนึ่งไปสู่รูปแบบพิธีการ และเก็บถนอมความเชื่อที่ผิดรวมถึงความเชื่องมงายต่างๆ ที่คงจะถูกโยนทิ้งไปตั้งนานแล้วหากคริสตจักรยังคงดำเนินตามความกระจ่างของพระวจนะของพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จิตวิญญาณที่ได้รับการดลใจจากการปฏิรูปศาสนาจึงค่อยๆ ตายจากไปทีละน้อย จนกระทั่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูปในคริสตจักรโปรเตสแตนต์เช่นเดียวกับในคริสตจักรโรมันในสมัยของลูเธอร์ มีการฝักใฝ่ทางโลกและการสลบไสลทางฝ่ายจิตวิญญาณในแบบเดียวกัน มีความคล้ายคลึงกันในการเคารพนับถือความคิดของมนุษย์ และในการนำทฤษฎีของมนุษย์เข้ามาใช้แทนคำสอนของพระวจนะของพระเจ้า {GC 297.2}GCth17 258.2
การแจกจ่ายพระคัมภีร์อย่างกว้างขวางเกิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่สิบเก้าและด้วยวิธีนี้เองความกระจ่างอันยิ่งใหญ่จึงส่องไปยังโลก แต่ไม่มีการสานต่อเพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าทางความเข้าใจที่สอดคล้องกับความกระจ่างที่ถูกเปิดเผยขึ้นใหม่นี้หรือความก้าวหน้าในทางศาสนาที่ปฏิบัติได้ ซาตานกีดกันพระวจนะของพระเจ้าจากประชากรเหมือนในยุคก่อนไม่ได้ ทุกคนเข้าถึงพระคัมภีร์ได้ แต่เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของมัน มันทำให้คนมากมายให้ความสำคัญกับพระคัมภีร์แต่เพียงน้อยนิด มนุษย์ละเลยที่จะค้นหาพระคัมภีร์ และพวกเขาจึงยังคงรับการแปลความหมายที่ผิดต่อไปและเก็บถนอมหลักคำสอนต่างๆ ที่ไม่มีพื้นฐานจากพระคัมภีร์ {GC 298.1}GCth17 258.3
เมื่อซาตานมองเห็นความล้มเหลวของความพยายามที่จะบดขยี้สัจธรรมด้วยการกดขี่ข่มเหง อีกครั้งหนึ่งที่มันหันไปใช้เล่ห์เหลี่ยมของการประนีประนอมซึ่งนำไปสู่การละทิ้งศาสนาครั้งยิ่งใหญ่และการก่อตั้งคริสตจักรแห่งโรมขึ้นมา มันชักจูงคริสเตียนทั้งหลายให้ทำพันธมิตรกันเอง แต่บัดนี้ไม่ใช่การทำพันธมิตรกับคนนอกศาสนาแต่กับคนเหล่านั้นที่อุทิศตนให้กับวัตถุในโลกนี้ ผู้ซึ่งได้พิสูจน์ตัวพวกเขาเองว่าเป็นคนกราบไหว้รูปเคารพอย่างแท้จริงเช่นเดียวกับคนที่กราบไหว้รูปเคารพ และบัดนี้ผลของการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรนั้นไม่ได้ร้ายแรงน้อยไปกว่าในยุคก่อน พวกเขาอุปถัมภ์ความหยิ่งยโสและความฟุ้งเฟ้อไว้ด้วยการเอาศาสนามาบังหน้าและคริสตจักรทั้งหลายจึงเสื่อมลง ซาตานยังคงบิดเบือนหลักคำสอนของพระคัมภีร์ต่อไปและประเพณีที่จะทำลายคนเป็นจำนวนหลายล้านกำลังฝังรากลึก คริสตจักรค้ำจุนและปกป้องประเพณีเหล่านี้ไว้แทนที่จะช่วงชิงเอา “หลักความเชื่อที่ได้ทรงมอบให้กับพวกธรรมิกชนครั้งเดียวสำหรับตลอดไป” ยูดา 3 ด้วยประการฉะนี้หลักการที่นักปฏิรูปศาสนาทำและยอมทนทุกข์ยากมากมายนั้นจึงด้อยค่าลงไป {GC 298.2}GCth17 258.4