Loading...
Larger font
Smaller font
Copy
Print
Contents
บหัศจรรย์แห่อการรักษา - Contents
  • Results
  • Related
  • Featured
No results found for: "".
  • Weighted Relevancy
  • Content Sequence
  • Relevancy
  • Earliest First
  • Latest First
    Larger font
    Smaller font
    Copy
    Print
    Contents

    การรับประกานอาหารไนลักษณะกผิด

    เราไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ถ้าอาหารอยู่ ในสภาพที่เย็น กำลังของกระเพาะก็จะลูกดึงออกมาเพื่ออุ่นอาหารก่อนการ ย่อยจะเกิดขึ้นได้ เครื่องดื่มที่เย็นให้โทษต่อร่างกายด้วยเหตุผลอย่างเดียว กัน แต่การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนมากเกินไปก็ให้โทษต่อร่างกายเช่นเดียวกัน ความจริงแล้วยิ่งถ้าดื่มนํ้าหรือของเหลวคละไปกับการรับประทานอาหาร ครั้งละมากๆ ก็ยิ่งทำให้อาหารย่อยยากขึ้นเท่านั้น เพราะนํ้าหรือของเหลว จะต้องลูกดูดซึมเสียก่อนที่กระบวนการย่อยจะเริ่มขึ้นไต้ อย่ารับประทาน เกลือหรืออาหารรสเค็มในปริมาณมาก ๆ อย่ารับประทานอาหารหมักดอง และอาหารที่ใส่เครื่องเทศรสจัด แต่จงรับประทานผลไม่ให้มาก แล้วอาการ ระคายเคืองกระเพาะอาหารซึ่งทำให้ต้องดื่มนํ้ามาก ๆ ในเวลาอาหารก็จะ หายไป {MH 305.1}MHTh 337.2

    เราควรที่จะรับประทานอาหารช้าๆ และเคี้ยวให้ละเอียด การเคี้ยว เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อช่วยให้นํ้าลายไต้คลุกเคล้ากับอาหารอย่างทั่วถึง และ จะกระตุ้นให้หลั่งนํ้าย่อยออกมาทำงาน {MH 305.2}MHTh 337.3

    อันตรายที่ร้ายแรงอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรับประทานอาหารในเวลา ที่ไม่เหมาะสม เช่นภายหลังการออกกำลังกายหนักๆ เมื่อเรารู้สึกเหน็ด- เหนื่อยหมดแรงหรืออุณหภูมิในร่างกายสูง ทันทีภายหลังการรับประทาน อาหาร ร่างกายมีการดึงพลังงานจำนวนมากจากระบบประสาท และเมื่อ ร่างกายหรือสมองผ่านการใช้งานมาอย่างหนักทั้งก่อนหรือหลังการรับ- ประทานอาหาร จะทำให้อาหารไม่ย่อย เมื่อรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวลหรือรีบ ร้อน ไม่ควรรับประทานอาหารจนกว่าไต้พักผ่อนให้รู้สึกสบายเสียก่อนจะ ดีกว่า {MH 305.3}MHTh 338.1

    กระเพาะอาหารมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสมอง เมื่อกระเพาะ อาหารเกิดความเจ็บป่วย สมองจะกระตุ้นให้ระบบประสาทจ่ายพลังงานไป หล่อเลี้ยงส่วนที่อ่อนแอของอวัยวะย่อยอาหาร เมื่อเป็นเช่นนี้อยู่บ่อยๆ สมองก็จะไม่ปลอดโปร่ง เมื่อสมองต้องทำงานหนักอยู่เสมอ และขาดการ ออกกำลังกาย แม้แต่อาหารธรรมดาก็ควรรับประทานให้น้อยลง ในเวลา รับประทานอาหารนั้น ควรละทิ้งเรื่องห่วงใยกังวล ความเร่งรีบทิ้งไป แต่ ให้รับประทานอย่างช้าๆ และด้วยจิตใจที่ร่าเริง เปียมลันด้วยความสำนึก ในพระคุณของพระเจ้าผู้ประทานพระพรมากมายมาให้{MH 306.1}MHTh 338.2

    หลายคนที่เลิกรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารอื่นๆ ที่ไม่ดีและเป็น อันตรายต่อสุขภาพมักจะคิดว่าอาหารที่พวกเขารับประทานล้วนเป็นอาหาร ที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย พวกเขาจึงรับประทานกันอย่าง ตามใจปากและมากเกินพอ จนกลายเป็นความตะกละ การกระทำเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อวัยวะที่ใช้ย่อยอาหารไม่ควรต้องรับภาระหนักด้วย ปริมาณอาหารมากๆ และหลากหลายชนิด จนทำให้ระบบต้องทำงาน อย่างหักโหม {MH 306.2}MHTh 338.3

    ธรรมเนียมปฏิบัติมักนิยมจัดวางอาหารบนโต๊ะทีละอย่างต่อ ๆ กันไป จนครบชุด เมื่อไม่รู้ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดต่อไป ผู้รับประทานอาจพลาด จากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเขาในจำนวนที่พอเพียง เมื่ออาหารชุดสุดท้ายลูกนำออกมา บ่อยครั้งเขาจำใจต้องรับประทานมาก เกินกำหนดโดยชิมของหวานที่เย้ายวนลิ้นไปบ้าง ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อ ร่างกายของเขาเลย หากอาหารทั้งหมดที่เตรียมมาสำหรับมื้อหนึ่งๆ ถูก นำมาวางไว้บนโต๊ะพร้อมกันตั้งแต่แรก ผู้รับประทานจะมีโอกาสเลือก อาหารที่เป็นประโยชน์ที่สุดต่อตัวเขาได้ {MH 306.3}MHTh 338.4

    บางครั้ง เราอาจรู้สึกไม่สบายทันทีภายหลังการรับประทานอาหาร มากเกินไป ในบางกรณีอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่อวัยวะในการย่อยอาหาร เกิดสุญเสียกำลังไป และฐานรากของสุขภาพถูกบั่นทอนทีละน้อย {MH 306.4}MHTh 339.1

    อาหารส่วนเกินที่รับประทานเข้าไป ทำให้อวัยวะในการย่อยอาหาร ต้องทำงานหนักและก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายคล้ายจะเป็นไข้ เพราะร่างกายต้องส่งโลหิตปริมาณมากเกินจำเป็นไปช่วยที่ช่วงท้อง ทำให้ รู้สึกหนาวเย็นตามปลายมือและเท้าอย่างรวดเร็ว ทำให้อวัยวะในการย่อย อาหารต้องทำงานหนักขึ้น และเมื่ออวัยวะเหล่านี้ทำการย่อยเสร็จสิ้น จะ รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางคนที่รับประทานอาหารมากเกินไปเข้าใจ ความรู้สึกอ่อนเพลียนี้ว่าเป็นความหิว แต่ที่จริงความรู้สึกนี้เกิดจากการ ที่อวัยวะที่ใช้ในการย่อยอาหารทำงานจนหมดแรง บางครั้งทำให้สมอง มึนงง จนทั้งสมองหรือร่างกายแทบไม่สามารถทำสิ่งใดได้เลย {MH 307.1}MHTh 339.2

    อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะร่างกายต้องทำงานหนัก เกินกำลังจนหมดเรี่ยวแรงไป กระเพาะกำลังพูดว่า “ขอให้ฉันได้พักบ้าง เถิด” แต่หลายคนตีความหมายของเความอ่อนเพลียนี้ว่า มีความต้องการ อาหารมากขึ้นตังนั้นแทนที่จะให้กระเพาะอาหารไต้พัก กระเพาะอาหาร จึงต้องทำงานหนักอีกครั้งหนึ่ง ผลที่ได้รับก็คือ ระบบย่อยอาหารที่ควรจะ ทำงานได้เป็นอย่างตีต่อไปต้องกลับเสื่อมสภาพลง {MH 307.2}MHTh 339.3

    ในวันสะบาโต เราไม่ควรเตรียมอาหารไว้รับประทานมากหรือมี หลากหลายชนิดกว่าวันอื่นๆ แทนที่จะเป็นเช่นนี้ อาหารที่เตรียมควรจะ เป็นอาหารที่เรียบง่ายกว่า และควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง เพื่อให้ สมองของเรามีความปลอดโปร่งและสามารถเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับฝ่าย จิตวิญญาณได้ดียิ่งขึ้น กระเพาะอาหารที่อิ่มแปล้หมายถึงสมองที่มึนทึบคิด อะไรไม่ออก เราอาจได้ฟังถ้อยคำที่ลํ้าค่า แต่มิอาจเข้าใจความหมายอย่าง ซาบซึ้ง เพราะสมองของเรามึนซึมด้วยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง การรับประทานอาหารมากเกินไปในวันสะบาโต เป็นเหตุให้หลายคนแปด เปื้อนตัวพวกเขาเองจนไม่อาจรับประโยชน์จากชั่วโมงอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไต้ เท่าที่หลายคนคาดคิด {MH 307.3}MHTh 339.4

    เราควรจะหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารในวันสะบาโต แต่ก็ไม่มี ความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารที่เย็นชืด ในช่วงที่อากาศหนาว เราควรที่จะอุ่นอาหารที่เตรียมไว้ตั้งแต่วันก่อนให้ร้อน ขอให้เป็นอาหารที่ เรียบง่าย อร่อยและน่ารับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มี เด็กๆ ในวันสะบาโต ควรจัดอาหารบางอย่างเป็นพิเศษที่ครอบครัวไม่มี เป็นประจำในวันธรรมดา {MH 307.4}MHTh 340.1

    ไม่ควรชักช้าในการแกไขนิสัยผิด ๆ ของการบริโภคอย่างตามใจ ปาก เมื่อโรคอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นจากการใช้กระเพาะอาหารอย่างสมบุก สมบน เราควรพยายามสงวนอย่างระมัดระวังกำลังที่เหลือของกระเพาะ อาหารโดยการกำจัดทุกภาระหนักของกระเพาะอาหารออกไป กระเพาะ อาจไม่สามารถฟันเป็นปกติได้ทั้งหมดหลังจากที่ใช้งานอย่างหนักมา เป็นเวลานาน แต่การรับประทานอาหารที่ลูกต้องจะช่วยอาการเจ็บป่วย มิให้ลุกลามต่อไป และหลายคนจะสามารถหายจากอาการเจ็บป่วยจนเป็น ปกติไม่มากก็น้อย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะกำหนดกฎเกณฑ์การรักษาสำหรับ ทุกๆ กรณี แต่หากเราใส่ใจในหลักการที่ลูกต้องของการบริโภค จะช่วย การแก่ไขได้อย่างมาก และแม่ครัวก็ไม่จำต้องเหน็ดเหนื่อยกับการปรุง อาหารเพื่อไปกระตุ้นความอยาก {MH 308.1}MHTh 340.2

    การยับยั้งชั่งใจจากความอยากอาหารเป็นรางวัลแก่พลังสติปัญญา และอำนาจฝ่ายศีลธรรม อีกทั้งยังช่วยให้สามารถบงคับควบคุมกิเลสตัณหา ได้ การรับประทานอาหารมากเกินควรมีอันตรายโดยเฉพาะกับผู้ที่มี พฤติกรรมเฉื่อยชา คนเหล่านี้ควรรับประทานอาหารแต่น้อยและออกกำลัง กายให้มาก มีชายหญิงหลายคนซึ่งเป็นผู้มีพรสวรรค์อันเป็นเลิศ แต่พวก เขาประสบความสำเร็จไดไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่พวกเขาควรจะทำได้ เพราะ พวกเขาไม่ร้จักควบคุมบังคับใจตัวเองในการบริโภคอาหาร {MH 308.2}MHTh 340.3

    นกเขียนและนกพูดหลายคนพลาดเนขอน ภายหลงจากการริบ ประทานอาหารอย่างอิ่มหนำสำราญแล้ว พวกเขาก็นั่งทำงานอยู่กับที่ อ่าน เขียน หรือค้นคว้า โดยที่มีไดใช้เวลาเพื่อการออกกำลังกายเลย ผลที่ตาม มาก็คือ ความคิดและถ้อยคำมิอาจที่จะหลั่งไหลพรั่งพรูออกมาได้ เขาไม่ สามารถที่จะเขียนหรือพูดให้มีพลังอำนาจและเป็นที่จับใจได้เท่าที่ควร ความ พยายามของพวกเขาดูธรรมดาเกินไปและไร้ประสิทธิภาพ {MH 309.1} คนทั้งหลายที่มีหน้าที่รับผิดชอบในสิ่งที่สำคัญๆ เหนืออื่นใด ผู้ ปกป้องคุณค่าฝ่ายจิตวิญญาณควรมีความรู้สึกที่ฉลาดหลักแหลมและความ เข้าใจที่ฉับไว มากกว่าผู้มีหน้าที่อื่น พวกเขาจำต้องประมาณตนในการ บริโภค อาหารที่หรูหราฟุ่มเฟือยมิควรปรากฏอยู่บนโต๊ะอาหารของพวก เขา {MH 309.2}MHTh 341.1

    ผู้ที่ดำรงดำแหน่งซึ่งไต้รับความไว้วางใจ มี เรื่องสำคัญ ต้อง ตัดสินใน ทุกวัน เขาจำต้องคิดด้วยความรวดเร็วและผู้ที่จะกระทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จ ไดจึงต้องเป็นผู้ที่รู้จักประมาณตนในการบริโภคอย่างเคร่งครัดเท่านั้น เมื่อ เราใช้กำลังกายและกำลังสมองของเราในทางที่ถูก ความคิดของเราก็จะมี ประสิทธิภาพมากขึ้น หากภาระที่เพิ่มไม่หนักหนาเกินไป กำลังวังชาใหม่ก็ จะเกิดขึ้นพร้อมกับภาระที่เพิ่ม แต่บ่อยครั้งผู้ที่ต้องรับผิดชอบการพิจารณา และตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่าง ๆ มักลูกผลกระทบในทางลบซึ่งเกิดจาก การรับประทานอาหารที่ไม่ลูกต้อง กระเพาะอาหารที่ผิดปกติทำให้ความ คดยุ่งเหยิงและเกิดอาการแปรปรวนสับสน บุ่ หงุดหงิด เกรียวกราด หรือขาดความยุติธรรม มีแผนงานหลายชิ้นทีนำจะ เป็นพระพรแก่ชาวโลกต้องลูกละทิ้งไป แต่มาตรการที่ไม่ยุติธรรม กดขี่ หรือแม้กระทั้งชั่วร้ายกลับไต้รับการสานต่อ อันเป็นผลของการตัดสินใจ ที่มาจากสภาพความเจ็บป่วยเนื่องจากนิสัยที่ผิดๆ ในการบริโภค {MH 309.3}MHTh 341.2

    ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับคนทั้งหลายที่ต้องทำงานนั่งอยู่กับโต๊ะ อยู่กับที่หรือต้องใช้สมองเป็นหลัก ขอให้ผู้ที่มีความเข้มแข็งทางศีลธรรม และรู้จักบังคับตนเองไต้ลองปฏิบัติตาม ในแต่ละมื้อให้รับประทานอาหาร ชนิดที่เรียบง่ายเพียงสองหรือสามอย่าง และอย่ารับประทานอาหารให้มาก กว่าความต้องการเพื่อให้หายหิว หมั่นออกกำลังกายด้วยความกระฉับกระเฉง ในทุกๆ วัน และคอยดูว่าท่านจะได้รับประโยชน์หรือไม่ {MH 31 0.1}MHTh 342.1

    คนแข็งแรงที่ทำงานโดยใช้แรงกายไม่จำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่อง ของปริมาณหรือชนิดของอาหารเท่ากับคนที่นั่งท่างานอยู่กับที่ แต่ยิ่งกว่า นั้น คนเหล่านี้จะมีสุขภาพที่ดีขึ้นหากพวกเขารู้จักบังคับตัวเองในการกิน การดื่ม {MH 31 0.2}MHTh 342.2

    บางคนอยากให้มีกฎตายตัวที่กำหนดเรื่องของอาหารที่พวกเขารับ ประทาน พวกเขารับประทานมากเกินไปแล้วนั่งเสียใจ แล้วพวกเขาก็เฝ้า แต่ครุ่นคิดถึงสิ่งที่เขาจะรับประทานและดื่ม แต่ไม่ควรเป็นเช่นนี้ ไม่มีใคร สามารถวางกฎตายตัวไว้สำหรับอีกคนหนึ่งไต้ ทุกคนควรแกการใช้เหตุผล และบังคับตัวเอง รวมทั้งควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ {MH 31 0.3}MHTh 342.3

    ร่างกายของเราเป็นกรรมสิทธิ์ของพระคริสต์ที่พระองค์ไต้ทรงไถ่ไว้ แล้ว ตังนั้นเราจึงไม่มีเสรีภาพที่จะท่าอะไรตามที่เราพอใจ คนทั้งหลายที่รู้ และเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ในด้านสุขภาพควรตระหนักถึงพันธะของตนเองที่ ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ที่พระเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ใน ชีวิตของพวกเขา การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้านสุขภาพเป็นหน้าที่ส่วน บุคคล ตัวเราเองที่จะเป็นผู้ที่ต้องรับผลจากการล่วงละเมิด เราแต่ละคน จะต้องให้การต่อพระเจ้าในเรื่องของนิสัยและความประพฤติของเรา ด้วย เหตุนี้คำถามที่เราจะต้องตอบมิใช่ว่า “โลกปฏิบัติเยี่ยงไร” แต่ต้องถามว่า “ตัวเราแต่ละคนจะต้องปฏิบัติต่อร่างกายที่พระเจ้าไต้ประทานให้แก่เรา อย่างไร” {MH 310.4}MHTh 342.4

    *****

    Larger font
    Smaller font
    Copy
    Print
    Contents